11.4.55

Project 3 : ศิลป์พำนัก รักษ์เกาะเกร็ด

มาถึงโปรเจคสุดท้ายของชีวิตนิสิตปีหนึ่ง :) ชื่อโปรเจค “ศิลป์พำนัก รักษ์เกาะเกร็ด” (Artist in Residence at Koh Kret) เป็นโปรเจคสุดท้ายที่แลกมาด้วยหยาดเหงื่อและน้ำตา 555555555 เครียดมากจริงๆสำหรับโปรเจคนี้


วัตถุประสงค์ของโปรเจคนี้คือต้องการให้เราออกแบบที่พักอาศัยสำหรับผู้ใช้สอยซึ่งมีความต้องการและพฤติกรรมต่างกัน โดยต้องมีการวิเคราะห์ข้อมูลที่ตั้งโครงการ วิเคราะห์ผู้ใช้โครงการ และนำสิ่งที่ได้มาประมวล บวกกับความคิดสร้างสรรค์ ออกมาเป็นที่พักอาศัยขนาดเล็กที่ตอบสนองความต้องการของทุกคนที่เข้ามาใช้ และสอดคล้องกับสภาพแวดล้อมบริเวณนั้น


ผู้ใช้โครงการที่โจทย์กำหนดมา ได้แก่
     - ลุงหมาก : ข้าราชการบำนาญภาคพืชศาสตร์
-     - ป้าทับทิม : ปรมาจารย์ด้านการทำขนมไทย

-     - คุณปูรณ์ : บุตรชายผู้เป็นเจ้าของกิจการเครื่องปั้นดินเผา ซึ่งชื่นชอบผลงานศิลปะและสนับสนุนการทำงานของศิลปินเรื่อยมา


     เนื่องจากความสนใจด้านศิลปะของคุณปูรณ์ จึงเปิดบ้านให้เป็นที่พำนักสำหรับทำงานของศิลปินเป็นเวลา 3-6 เดือน โดยรองรับได้มากที่สุด 2 ท่านเท่านั้น





         
    Concept ของการออกแบบบ้านหลังนี้คือ “Gradation : การขึ้นรูปของเครื่องปั้นดินเผา”




     เนื่องจากสถานที่ตั้งโครงการคือ เกาะเกร็ด ซึ่งมีผลิตภัณฑ์ขึ้นชื่อคือเครื่องปั้นดินเผา เราจึงมาวิเคราะห์ถึงขั้นตอนการขึ้นรูป และนำมาลดทอนให้สอดคล้องกับการแบ่ง zoning ภายในบ้าน




     
                                                                                          
จา จากแปลน จะเห็นการค่อยๆไล่ zoning จาก private > semi private > semi public > public














    สำหรับโปรเจคนี้ ทำให้ท้อหลายครั้งมากกกกกกกกกกก เพราะโดนติเรื่องพัฒนาแบบบ่อยมาก จนกลายเป็นล้มแบบตัวเองทุกครั้งที่ตรวจ T_________T" แต่สุดท้ายก็ออกมาดี ต้องขอขอบคุณอาจารย์ที่คอยให้คำแนะนำ เพื่อให้นำมาพัฒนาแบบของตัวเองให้ดีขึ้นค่ะ

   
    

Project 2 : Shop house

มาถึงโปรเจคที่สองของเทอมปลาย ชื่อโปรเจคว่า "Shop house" ซึ่งมีวัตถุประสงค์


- เพื่อให้นิสิตฝึกทักษะในการออกแบบโครงการที่เหมาะสมกับผู้ใช้ที่กำหนดและมีความสอดคล้องกับสภาพแวดล้อมที่ตั้งโครงการ โดยทำการวิเคราะห์ข้อมูล สังเคราะห์ และตั้งสมมติฐาน เพื่อใช้เป็นแนวทางในการออกแบบ
- เพื่อให้นิสิตฝึกทักษะการออกแบบและการจัดองค์ประกอบ ที่คำนึงถึงความสัมพันธ์ของพื้นที่ว่างภายใน พื้นที่กึ่งภายนอก และพื้นที่ว่างภายนอกอาคาร รวมถึงความสัมพันธ์ระหว่างกิจกรรมและลำดับการเข้าถึงกิจกรรมต่างๆ
- เพื่อให้นิสิตฝึกทักษะการแบ่งเขตพื้นที่ใช้สอย (Zoning) และการจัดความสัมพันธ์ของพื้นที่ใช้สอยโดยใช้แผนภูมิฟองสบู่ (Bubble Diagram) หรือแผนภูมิแสดงความสัมพันธ์ของพื้นที่ใช้สอย (Functional Diagram) ได้


โปรเจคนี้ ให้เราออกแบบที่พักอาศัยซึ่งใช้ประกอบธุรกิจส่วนตัว ที่ดำเนินการเพียงสองคน พื้นที่ใช้สอยไม่เกิน 120 ตารางเมตร โดยมีการระบุที่ตั้งโครงการคือบริเวณ k-zy plaza ตรงข้าม ม.เกษตรศาสตร์


หลังจากที่ได้ไปดูพื้นที่ตั้งโครงการ ซึ่งอยู่ในซอยไม่ลึกมาก มีคนสัญจรเกือบตลอดเวลา อีกทั้งยังมีหอพักสตรีหลายแห่ง บวกกับความชอบส่วนตัว เลยอยากทำร้าน "บุฟเฟ่ต์เค้ก"


ส่วนตัวเราเป็นคนที่ชอบกินเค้ก แล้วปกติที่ไปกินก็อยากจะนั่งกินนานๆ มีเค้กให้กินเยอะๆสมกับที่อยาก และจากการสังเกต พวกเค้ก ของหวานก็เป็นที่ชื่นชอบของผู้หญิงอยู่แล้ว ซึ่งก็เข้ากับบริเวณที่ตั้งโครงการที่มีหอพักนิสิตหญิงอยู่เยอะ


site analysis

แผนภาพและการวิเคราะห์การใช้พื้นที่


การแบ่งการใช้พื้นที่ภายในบ้าน หลักๆคือด้านหน้าใช้สำหรับการบริการลูกค้า ค้าขาย ทำธุรกิจ ด้านหลังบ้านเป็นส่วนครัว ซักล้างของผู้พักอาศัย และชั้นสองเป็นส่วนพักผ่อนของผู้พักอาศัย เพื่อความเป็นส่วนตัว


Concept ของการออกแบบคือ "Sweet Time แวะเติมความหวานให้ชีวิตคุณ" โดยจะเน้นการตกแต่งร้านทั้งภายนอกและภายในให้รู้สึกถึงความหอมหวาน อบอุ่น เชิญชวนให้เข้ามาลิ้มลอง สร้างบรรยากาศให้อยากนั่งนานๆ นำมาผสมผสานกับสถาปัตยกรรมสไตล์อิตาลีซึ่งมีความหวาน น่ารัก อบอุ่น สามารถสื่อถึงธุรกิจของเราได้อย่างสอดคล้อง


 1st floor plan

 2nd floor plan

 roof plan

 elevation I & elevation II

section
 
interior perspective 

 exterior perspective


 
 





โปรเจคนี้เพิ่มความซับซ้อนในการออกแบบมากขึ้น เพราะต้องคำนึงถึงผู้ใช้โครงการหลายคน มีความต้องการต่างกัน ต้องคิดเรื่องการแบ่ง zoning เพื่อให้สะดวกและตอบสนองความต้องการของผู้ใช้ ส่วนตัวคิดว่าเป็นโปรเจคที่สนุก เพราะเหมือนเราสามารถออกแบบบ้านและร้านอะไรก็ได้ที่อยากทำ ให้อิสระในการคิดและออกแบบ แต่ด้วยระยะเวลาที่สั้นเลยทำงานออกมาได้ไม่ดีเท่าที่ตั้งใจไว้ - -"

10.4.55

Project 1 : ต้องรอด

โปรเจคนี้ เป็นโปรเจคแรกของเทอมปลาย เริ่มก้าวเข้าสู่การออกแบบทางสถาปัตยกรรม โดยเทอมนี้มีทั้งหมด 3 โปรเจค ซึ่งแต่ละโปรเจคก็จะไล่ระดับความซับซ้อนของการออกแบบมากขึ้นเรื่อยๆ




วัตถุประสงค์
- ฝึกฝนทักษะความเข้าใจเรื่องสัดส่วนมนุษย์ (Human Scale)
- ฝึกฝนทักษะความเข้าใจเรื่องที่ว่างภายใน (Interior Space)
- ฝึกฝนทักษะในการค้นคว้าข้อมูลจากห้องสมุดและสื่อออนไลน์
- สามารถวิเคราะห์ที่ว่างทางสถาปัตยกรรมที่สัมพันธ์กับพฤติกรรมและสัดส่วนของมนุษย์
- ฝึกฝนทักษะการออกแบบสถาปัตยกรรมโครงสร้างไม้ ซึ่งสัมพันธ์กับบริบทแวดล้อม


โปรเจค "ต้องรอด" เป็นการออกแบบที่พักพิงสำหรับตนเองในสถานการณ์น้ำท่วม โดยเน้นให้ใช้ระบบโครงสร้างไม้เป็นหลัก โดยการออกแบบ ต้องคำนึงถึงว่าการพักอาศัยอยู่ในที่พักพิงเป็นเวลา 1 เดือน ไม่มีทั้งไฟฟ้าและน้ำประปา เราจะแก้ปัญหาได้อย่างไร? และจากใบโปรแกรม เราสามารถออกแบบที่พักพิงให้มีพื้นที่ใช้สอยรวมไม่เกิน 30 ตารางเมตรเท่านั้น


และเนื่องจากโปรเจคนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้เราเข้าใจเกี่ยวกับสัดส่วนมนุษย์และพฤติกรรมการพักอาศัย ซึ่งเริ่มจากตัวเราเอง ซึ่งเป็นผู้ใช้โครงการเพียงคนเดียว จึงต้องจัดทำตารางสรุปกิจกรรม พฤติกรรม พื้นที่ใช้สอย และวัดสัดส่วนร่างกายของตนเองอีกด้วย





ภาพแรก เป็นการวัดสัดส่วนร่างกายของตนเองในอิริยาบถต่างๆ เพื่อทำความเข้าใจและนำมาประยุกต์ใช้กับการออกแบบที่พักพิงในสถานการณ์น้ำท่วม


ภาพที่สอง เป็นตารางสรุปกิจกรรมภายในหนึ่งวัน ซึ่งทำการเปรียบเทียบพฤติกรรมในชีวิตประจำวันปกติ และพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปเมื่ออยู่ในสถานการณ์น้ำท่วม ซึ่งไม่มีสิ่งอำนวยความสะดวก


จากการวิเคราะห์ใบโปรแกรม สัดส่วน พฤติกรรมของตนเองในแต่ละวัน นำมาสู่การออกแบบที่พักพิงในสถานการณ์น้ำท่วม ซึ่งมีตัวเราเป็น user เพียงคนเดียว


หลังจากที่วิเคราะห์ ก็ได้แนวความคิดว่า เนื่องจากมีข้อจำกัดในการใช้พื้นที่ ที่พักพิงก็มีขนาดเล็กอยู่แล้ว การที่จะเข้าไปอยู่โดยรู้สึกไม่อึดอัด เลยใช้การเพิ่มชั้นลอยเพื่อยกความสูงของบ้าน ทำให้บ้านดูโล่ง โปร่งกว่าบ้านชั้นเดียว อีกทั้งยังมีพื้นที่ด้านบนไว้เปลี่ยนบรรยากาศได้อีกด้วย








จากแปลน พื้นที่ชั้นล่างจะเป็นส่วนนอน พักผ่อน เก็บของ ห้องน้ำ มีส่วนทำครัวและแทงก์น้ำอยู่น้ำบ้าน เพื่อไม่ให้กลิ่นรบกวนเวลาทำอาหาร ส่วนชั้นลอยด้านบน เป้นส่วนนั่งพักผ่อน อ่านหนังสือ ชมวิวทิวทัศน์ เปลี่ยนบรรยากาศและทำให้บ้านดูไม่อึดอัดจนเกินไป


การจัดพื้นที่และเฟอร์นิเจอร์ภายในที่พักพิง




ภาพเมื่อมองจากด้านนอก


จากโปรเจคนี้ ทำให้ได้รู้ ได้ศึกษา และคำนึงถึงสัดส่วนมนุษย์ในการออกแบบ การจัดสรรพื้นที่ให้เพียงพอและเหมาะสมกับการใช้งาน และอิริยาบถของผู้ใช้โครงการ ซึ่งในทีนี้มีตัวเราเพียงคนเดียว


โปรเจคนี้เป็นโปรเจคแรกที่ได้ทำงานสถาปัตยกรรมที่เป็นที่พักอาศัยจริงๆ ส่วนตัวรู้สึกตื่นเต้นมาก 5555555 เพราะไม่เคยทำ ไม่เคยได้ออกแบบ พอได้มาทำถึงได้รู้ว่าการออกแบบพื้นที่เพื่อพักอาศัย ต้องคำนึงถึงปัจจัยต่างๆมากมาย ทั้งผู้ใช้สอย พฤติกรรม ความชอบ บริบทรอบๆโครงการ ทุกสิ่งทุกอย่างต้องรวบรวมข้อมูลและนำมาวิเคราะห์ ประมวลออกมาเป็น space ที่เหมาะสมและตอบสนองความต้องการให้มากที่สุด


ก็ถือว่าเป็นการเริ่มต้นที่พอใจพอสมควร และคาดหวังกับตัวเองว่าโปรเจคต่อๆไปก็จะพยายามพัฒนาให้ดีขึ้นไปอีกค่ะ :)