10.4.55

Project 1 : ต้องรอด

โปรเจคนี้ เป็นโปรเจคแรกของเทอมปลาย เริ่มก้าวเข้าสู่การออกแบบทางสถาปัตยกรรม โดยเทอมนี้มีทั้งหมด 3 โปรเจค ซึ่งแต่ละโปรเจคก็จะไล่ระดับความซับซ้อนของการออกแบบมากขึ้นเรื่อยๆ




วัตถุประสงค์
- ฝึกฝนทักษะความเข้าใจเรื่องสัดส่วนมนุษย์ (Human Scale)
- ฝึกฝนทักษะความเข้าใจเรื่องที่ว่างภายใน (Interior Space)
- ฝึกฝนทักษะในการค้นคว้าข้อมูลจากห้องสมุดและสื่อออนไลน์
- สามารถวิเคราะห์ที่ว่างทางสถาปัตยกรรมที่สัมพันธ์กับพฤติกรรมและสัดส่วนของมนุษย์
- ฝึกฝนทักษะการออกแบบสถาปัตยกรรมโครงสร้างไม้ ซึ่งสัมพันธ์กับบริบทแวดล้อม


โปรเจค "ต้องรอด" เป็นการออกแบบที่พักพิงสำหรับตนเองในสถานการณ์น้ำท่วม โดยเน้นให้ใช้ระบบโครงสร้างไม้เป็นหลัก โดยการออกแบบ ต้องคำนึงถึงว่าการพักอาศัยอยู่ในที่พักพิงเป็นเวลา 1 เดือน ไม่มีทั้งไฟฟ้าและน้ำประปา เราจะแก้ปัญหาได้อย่างไร? และจากใบโปรแกรม เราสามารถออกแบบที่พักพิงให้มีพื้นที่ใช้สอยรวมไม่เกิน 30 ตารางเมตรเท่านั้น


และเนื่องจากโปรเจคนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้เราเข้าใจเกี่ยวกับสัดส่วนมนุษย์และพฤติกรรมการพักอาศัย ซึ่งเริ่มจากตัวเราเอง ซึ่งเป็นผู้ใช้โครงการเพียงคนเดียว จึงต้องจัดทำตารางสรุปกิจกรรม พฤติกรรม พื้นที่ใช้สอย และวัดสัดส่วนร่างกายของตนเองอีกด้วย





ภาพแรก เป็นการวัดสัดส่วนร่างกายของตนเองในอิริยาบถต่างๆ เพื่อทำความเข้าใจและนำมาประยุกต์ใช้กับการออกแบบที่พักพิงในสถานการณ์น้ำท่วม


ภาพที่สอง เป็นตารางสรุปกิจกรรมภายในหนึ่งวัน ซึ่งทำการเปรียบเทียบพฤติกรรมในชีวิตประจำวันปกติ และพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปเมื่ออยู่ในสถานการณ์น้ำท่วม ซึ่งไม่มีสิ่งอำนวยความสะดวก


จากการวิเคราะห์ใบโปรแกรม สัดส่วน พฤติกรรมของตนเองในแต่ละวัน นำมาสู่การออกแบบที่พักพิงในสถานการณ์น้ำท่วม ซึ่งมีตัวเราเป็น user เพียงคนเดียว


หลังจากที่วิเคราะห์ ก็ได้แนวความคิดว่า เนื่องจากมีข้อจำกัดในการใช้พื้นที่ ที่พักพิงก็มีขนาดเล็กอยู่แล้ว การที่จะเข้าไปอยู่โดยรู้สึกไม่อึดอัด เลยใช้การเพิ่มชั้นลอยเพื่อยกความสูงของบ้าน ทำให้บ้านดูโล่ง โปร่งกว่าบ้านชั้นเดียว อีกทั้งยังมีพื้นที่ด้านบนไว้เปลี่ยนบรรยากาศได้อีกด้วย








จากแปลน พื้นที่ชั้นล่างจะเป็นส่วนนอน พักผ่อน เก็บของ ห้องน้ำ มีส่วนทำครัวและแทงก์น้ำอยู่น้ำบ้าน เพื่อไม่ให้กลิ่นรบกวนเวลาทำอาหาร ส่วนชั้นลอยด้านบน เป้นส่วนนั่งพักผ่อน อ่านหนังสือ ชมวิวทิวทัศน์ เปลี่ยนบรรยากาศและทำให้บ้านดูไม่อึดอัดจนเกินไป


การจัดพื้นที่และเฟอร์นิเจอร์ภายในที่พักพิง




ภาพเมื่อมองจากด้านนอก


จากโปรเจคนี้ ทำให้ได้รู้ ได้ศึกษา และคำนึงถึงสัดส่วนมนุษย์ในการออกแบบ การจัดสรรพื้นที่ให้เพียงพอและเหมาะสมกับการใช้งาน และอิริยาบถของผู้ใช้โครงการ ซึ่งในทีนี้มีตัวเราเพียงคนเดียว


โปรเจคนี้เป็นโปรเจคแรกที่ได้ทำงานสถาปัตยกรรมที่เป็นที่พักอาศัยจริงๆ ส่วนตัวรู้สึกตื่นเต้นมาก 5555555 เพราะไม่เคยทำ ไม่เคยได้ออกแบบ พอได้มาทำถึงได้รู้ว่าการออกแบบพื้นที่เพื่อพักอาศัย ต้องคำนึงถึงปัจจัยต่างๆมากมาย ทั้งผู้ใช้สอย พฤติกรรม ความชอบ บริบทรอบๆโครงการ ทุกสิ่งทุกอย่างต้องรวบรวมข้อมูลและนำมาวิเคราะห์ ประมวลออกมาเป็น space ที่เหมาะสมและตอบสนองความต้องการให้มากที่สุด


ก็ถือว่าเป็นการเริ่มต้นที่พอใจพอสมควร และคาดหวังกับตัวเองว่าโปรเจคต่อๆไปก็จะพยายามพัฒนาให้ดีขึ้นไปอีกค่ะ :)

1 ความคิดเห็น:

  1. ดีที่มีคำอธิบายค่ะ แต่ต้องปรับปรุงเรื่องการถ่ายภาพอีกนิดนะคะสำหรับการทำ portfolio ให้เลือกมุมมองที่น่าสนใจของงานและถ่ายโดยมีฉากหลังเรียบๆที่ไม่ลดทอนความเด่นของงานไป

    ตอบลบ