13.7.54

ปฏิบัติการที่ 3.3 : Great Architects Pop Up

งานชิ้นนี้เป็นงานกลุ่มที่ใหญ่พอสมควร โดยให้ใช้ความรู้เรื่องการจัดองค์ประกอบจุด เส้น ระนาบ มาออกแบบและสร้างเป็นผลงาน 3 มิติ ปริมาตรไม่เกิน 1.80x1.80x1.80 เมตร


กลุ่มของเรา (กลุ่ม 2) ได้งานของสถาปนิกต้นแบบคือ Louis I Kahn (แอบดีใจที่ตัวเองหลุดพ้นจากการถอดงานของ Le Corbusier ซักที TT)




นำแนวคิดมาผสมผสานกับการจัดองค์ประกอบที่ได้เรียนมา ผลงานก็ออกมา่เป็นหน้าตาแบบนี้~ :D




สีสันสดใสเหมาะกับการเป็นฉากถ่ายรูปป XD~ ผลงานชิ้นนี้นอกจากจะทำส่งอาจารย์แล้วยังทำเพื่อเป็นฉากให้พี่บัณฑิตใช้ถ่ายรูปอีกด้วย


เป็นงานจากน้องปีหนึ่งที่ทำให้พี่บัณฑิตค่ะ :)

ปฏิบัติการที่ 2.3 : Knowing Some Great Architects III

ปฏิบัติการที่ 2.3 ยังคงเป็นงานดอท ไลน์ เพลน และใช้สถาปนิกต้นแบบเดียวกับปฏิบัติการที่ 2.1 และ 2.2 โดยประกอบด้วยงานสองชิ้นคือ


งานชิ้นที่ 1 : ให้ออกแบบงาน 2 มิติ โดยเลือกรูปร่าง 1 ประเภทและเทคนิคการจัดองค์ประกอบ 1 เทคนิค


รับใบโปรนี้มาอ่านแล้วรู้สึกเอ๋อๆมึนๆตึงๆ คือไม่ค่อยเข้าใจรายละเอียดของโปรแกรมเท่าไหร่ หลังจากได้ถามไถ่จากเพื่อน และจากที่ได้นั่งเรียนตอนชั่วโมงเลคเชอร์เลยออกมาเป็นงานชิ้นนี้




เลือกประเภทรูปร่างไม่สม่ำเสมอ (irregular bound) และเทคนิคการจัดองค์ประกอบ ความคล้ายคลึง (similarity) เป็นงานที่ทำแบบงงๆ ไม่รู้ว่าตัวเองเข้าใจถูกรึเปล่า 555555+ แต่พอทำออกมาแล้วก็รู้สึกพอใจค่ะ :)


งานชิ้นที่ 2 : ให้ออกแบบงาน 2 มิติ โดยให้ใช้รูปร่างประเภทเดียวกับที่เลือกใช้ในงานที่ 1 และเลือกเทคนิค 1 เทคนิคที่ไม่ซ้ำกับผลงานชิ้นที่ 1




เป็นงานอีกชื้นที่เรียกได้ว่าซุยสุดๆ T_______T (ถ้ามองให้ดีจะพบว่ามันประกบกับรูปข้างบนได้แบบแนบสนิทเป๊ะๆ.. ใช่แล้วล่ะ มันคือแผ่นที่เหลือจากการเลาะไปทำงานชิ้นบนนั่นเอง orz) อยู่ในโหมดของการคิดไม่ออกอย่างแรง ไม่รู้ว่าจะทำอะไรดี


ประเภทของรูปร่างเป็นแบบไม่สม่ำเสมอ (irregular bound) และเทคนิคการจัดองค์ประกอบแบบ ความไม่ปรกติ (anomaly) ซึ่งทำออกมาแล้วมันผิดจากที่เขียนไว้ (เพราะแม้แต่ตัวเองยังไม่รู้ว่าที่ทำไปนั่นมันคืออะไร orz) เลยได้เกรด D+ มารับประทาน

ปฏิบัติการที่ 2.2 : Knowing Some Great Architects II

ปฏิบัติการที่ 2.2 ยังคงเป็นงานจุด เส้น ระนาบที่ใช้สถาปนิกต้นแบบเดียวกับปฏิบัติการที่ 2.1 ในโปรแกรมนี้ประกอบด้วยงาน 2 ชิ้นคือ


งานชื้นที่ 1 : ให้ออกแบบและสร้างงาน 2 มิติ ด้วยการจัดองค์ประกอบ 3 องค์ประกอบ ได้แก่ จุด เส้น ระนาบ




เริ่มชินกับรูปนี้ งานชิ้นนี้เลยใช้เวลาไม่ค่อยนานเท่าไหร่ ถ้าสังเกตจะเห็นว่าเราเน้นการจัดองค์ประกอบโดยใช้ระนาบเป็นหลัก แล้วใช้เส้นกับจุดมาเป็นส่วนเสริม เพราะมันประหยัดเวลากว่ากันเยอะ แล้วมันก็เป็นรูปแบบที่ถนัดมากกว่าน่ะ


งานชิ้นที่ 2 : ให้ออกแบบงาน 2 มิติ โดยเลือกการจัดองค์ประกอบเพียง 1 องค์ประกอบและเลือกเทคนิคการจัดองค์ประกอบ 1 เทคนิค




เลือกการจัดองค์ประกอบแบบเส้น (line) และเทคนิคการจัดองค์ประกอบคือ การแปรเปลี่ยน (gradation) 

ปฏิบัติการที่ 2.1 : Knowing Some Great Architects I

ปฏิบัติการที่ 2.1 ให้ออกแบบงานทัศนศิลป์ 2 มิติ โดยการจัดองค์ประกอบของจุด เส้น ระนาบ (หรือที่เรียกกันติดปากว่างาน ดอท ไลน์ เพลน) โดยศึกษาการจัดองค์ประกอบจากงานของสถาปนิกต้นแบบ


เราได้รูปนี้มาค่ะ


Notre-Dame-Du-Haut (1955) at Ronchamp, France by Le Corbusier


ภายในเวลาประมาณ 2 ชั่วโมง ต้องทำงานสามชิ้นส่ง มันเป็นอะไรที่ท้าทายมาก!


งานชิ้นแรกที่เราเลือกหยิบมาทำ เป็นงานที่คิดว่าใช้เวลาในการทำน้อยที่สุด คืองานระนาบ (plane)




มันคือการฉลุกระดาษดำมาแปะบนร้อยปอนด์ดีๆนั่นเอง! เป็นงานที่คิดเร็วทำเร็ว ตัดกระดาษ ขีดเส้นร่างๆแล้วกรีดคัตเตอร์เลย ถือว่าเป็นงานที่ไม่ค่อยถึกเท่าไหร่


งานชิ้นที่สองที่เราเลือกทำคืองานเส้น (line)




คิดไม่ยาก แต่กรีดเส้นค่อนข้างถึก TAT ถ้าซูมเข้าไปใกล้ๆจะเห็นได้ชัดถึงความซุยของงาน ไร้ซึ่งความสะอาดและเท่ากันของเส้น orz เป็นงานที่่ผลาญเวลาเข้าขั้นอยู่เหมือนกัน


และมาถึงงานสุดท้ายท้ายสุด จุดไคลแม็กซ์ของการทำงานรอบนี้! ด้วยเวลาที่กระชั้น (มากๆ) และเสียเวลาไปกับการกรีดเส้นงานไลน์ค่อนข้างเยอะ งานดอทของเราก็เลย..!!




ขอตั้งชื่อภาพนี้ว่า "เสากระโดงเรือ" เป็นงานที่ซุยที่สุดในสามโลก orzorzorzorz


ด้วยความกลัว I จะมาเยือนขึ้นสมอง เลยดลใจให้เราเอางานแบบนี้ไปส่งอาจารย์ แล้วมาคิดได้ทีหลังว่ามันไม่ควร ..แต่ก็สายไปแล้ว T_______T และผลที่ออกมาก็เป็นดั่งใจคิด เราไม่ได้ I แต่ได้ F ตัวโตๆมาแทน (น่าดีใจมั้ยนี่?)


แล้วได้มารู้หลังจากส่งงานไปแล้วว่ายังมีเพื่อนที่ประสบชะตากรรมเดียวกับเราอีกหลายคน ชั่วโมงเรียนต่อมา อาจารย์เลยให้เลือกงาน 1 ใน 3 ของโปรแกรมเดิม มาทำการรีเกรด และนี่คืองานรีเกรดดอทของเราค่ะ




ดูดีมีชาติตระกูลกว่าอันที่แล้วเยอะ เพราะเวลาในการทำเยอะมาก!


จากการทำโปรแกรมนี้ทำให้เรารู้ว่า งานดอทเป็นงานที่เราไม่ถูกชะตาด้วยจริงๆ เพราะรู้สึกว่ามันเป็นงานที่ต้องใจเย็น ใช้ความละเอียดค่อนข้างมาก และใช้เวลานาน การจัดองค์ประกอบแบบดอทคงจะเป็นวิธีหลังสุดที่เราจะเลือกใช้ในการทำงานเลยล่ะ

ปฏิบัติการที่ 1 : My Architect, My Journey

งานวิชา Studio in Design ชิ้นแรกของการเปิดเทอม รู้สึกตื่นเต้นกับการทำงานชิ้นนี้มาก > < 555555+


โจทย์คือให้ศึกษางานของสถาปนิกต้นแบบแล้วนำแนวความคิดของเค้า มาผสมผสานกับแนวความคิดของเรา โดยแสดงออกมาในรูปของผลงาน 3 มิติ ปริมาตรไม่เกิน 30x30x30 ซม.


สถาปนิกต้นแบบที่เราได้คือ บริษัท BIG (Bjarke Injels Group) หลังจากที่ได้ชื่อสถาปนิกมา ก็มึนงงไปพักใหญ่ เพราะไม่รู้ข้อมูลเกี่ยวกับบริษัทนี้เลยแม้แต่นิด -v-;; กลับบ้านมาเริ่มทำงาน เปิด google เป็นเว็บแรก (ด้วยคติประจำใจคือ อะไรไม่รู้ เปิดกูเกิ้ล)


ศึกษางานของบริษัทนี้ไปเรื่อยด้วย เว็บนี้ เป็นหลักค่ะ.. เป็นเว็บของบริษัทเค้านั่นแหละ รวบรวมผลงานไว้เยอะมากๆ ช่วยด้านข้อมูลได้เยอะมากเลย :)


หลังจากดูงานไปเรื่อยๆก็พอจะจับแนวคิดในการออกแบบของบริษัทนี้ได้ว่า ส่วนใหญ่จะเป็นการเล่นกับรูปทรงเรขาคณิต คือนำรูปทรงเรขาคณิตที่มีความเรียบง่าย มาบิด หัก งอ ต่อเติม ให้มีความแปลกใหม่ น่าสนใจ


หลังจากนำมาประยุกต์กับความคิดของเรา เลยได้ออกมาเป็นผลงานชิ้นนี้..





แนวความคิดของงานชิ้นนี้คือ การนำรูปทรงเรขาคณิตที่มีความเรียบง่าย คือ รูปทรงสี่เหลี่ยม มาจัดเรียงด้วยการวางซ้อนในองศาที่ไม่เท่ากัน และไล่ขนาดจากใหญ่ไปเล็ก เพื่อเพิ่มความน่าสนใจให้กับชิ้นงาน


ส่วนตัวคิดว่างานมันออกจะดูเรียบง่ายไปหน่อย แต่ก็ไม่รู้จะเพิ่มเติมยังไง เลยออกมาหน้าตาอย่างที่เห็น ก็เป็นการทำงานชิ้นแรกที่สนุกดีค่ะ :)

about me :D

เปิดบล็อกใหม่.. เอนทรี่แรก มาทำความรู้จักกันก่อนดีกว่าเนอะ? :)


สวัสดีค่ะ เราชื่อ ณัฐยา รุจิรดำรงค์ชัย หรือเรียกสั้นๆว่า เน ก็ได้


ประวัติด้านการศึกษา จบระดับชั้นประถมศึกษาและมัธยมศึกษาจากโรงเรียนยอแซฟอุปถัมภ์ (แผนกวิทย์-คณิต) ปัจจุบัน (2554) เป็นนิสิตชั้นปีที่ 1 ของคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สาขาวิชาสถาปัตยกรรม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์


บล็อกนี้หลักๆก็จะเปิดไว้เป็นบล็อกสำหรับแสดงผลงานที่ทำภายในคณะค่ะ


สามารถพูดคุย ติชม แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันได้ ยังไงก็ขอฝากเนื้อฝากตัวด้วยค่ะ ;)