10.10.54

Final Project part 2 (end) : รูปทรงและที่ว่างแห่งอิริยาบถ

วิบากกรรมของสันกระดูกงูเรายังไม่หมดเพียงเท่านั้น ต่อจากพาร์ทแรก ก็มีพาร์ทสอง โดยใช้วัสดุเดิม แต่คราวนี้..


ให้นำผลงานจากปฏิบัติการ 6.1 มาพัฒนาสร้างเป็นรูปทรงและที่ว่าง 3 มิติเพื่อรองรับอิริยาบถของมนุษย์จำนวน 1 คน ซึ่งสามารถใช้สอยที่ว่างภายในของรูปทรงนั้นด้วยกิริยาท่าทางอย่างน้อย 1 อิริยาบถ โดยย่อขนาดของมนุษย์ลงในอัตราส่วน 1:5 พร้อมจัดทำ Plate นำเสนอผลงาน


อ่า.. เอาจริงๆงานที่แล้วเรากะปุ้ยเหงื่อตกกับการบากห่วงมาก มันเป็นงานที่ค่อนข้างถึกและดูดพลังมหาศาล และไม่ยืดหยุ่นเท่าที่ควรด้วย เราเลยมาหาวิธีใหม่ๆในการขึ้นรูปด้วยวัสดุของเรา


แล้วก็พบวิธีนี้ การเกี่ยว :D


สวยเนอะ เหมือนดอกไม้เลย ,,> <,,


พอนำมาต่อให้มันเป็นแผ่นที่แผ่ขยายขึ้น...





แล้วก็มาโค้งขึ้นรูป..





เป็นคล้ายๆอุโมงค์ :D แต่อันนี้หลังจากตรวจแบบแล้ว อ. คอมเม้นมาว่าใช้สีได้ลายตาเกินไป น่าจะจัดให้มันดูเป็นระเบียบกว่านี้ แล้วก็ยังไม่ได้เรื่องรองรับอิริยาบถของมนุษย์เท่าไหร่ เราก็เอามาพัฒนางานใหม่..





กลายเป็นอันนี้ ก็ยังโดนคอมเม้นว่ามันดูแบ่งแยกกันชัดเจนเกินไป - -" แล้วก็เรื่องอิริยาบถของมนุษย์เหมือนเดิม..




อันนี้ค่อนข้างโอเคค่ะ แต่ต้องปรับให้รองรับอิริยาบถท่านั่งของมนุษย์ แล้วก็เอาไปขึ้นรูปในมาตราส่วน 1 :5 เพื่อให้หุ่นจำลองมนุษย์เข้าไปใช้สอยพื้นที่ภายในได้


ทำให้เกิดงานไฟนอลโปรเจคขั้นสุดท้ายของเรา :DD




ด้วยความที่เมื่อนำมาเกี่ยวกันเอง ทำให้มีความยื่นหยุ่นมากกว่าครั้งแรกที่ใช้การบาก แล้วยังสามารถคงรูปได้ด้วยตัวเอง ลักษณะการใช้งานของมนุษย์ สามารถเข้าไปนั่ง และเปลี่ยนอิริยาบถเป็นท่านอนได้




ส่งคู่กับเพลตขนาดครึ่งอิมพีเรียลสองแผ่นค่ะ :)







แล้วก็จบสำหรับงานไฟนอลโปรเจคเทอม 1 ของชั้นปีที่ 1 อย่างเรา :) การทำงานชิ้นนี้ทำให้ได้เรียนรู้อะไรเยอะมากกกกกกก ทั้งการศึกษา ทดลอง ศักยภาพของวัสดุต่างๆ การแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นระหว่างทำงาน การทำงานร่วมกับคนอื่น รับฟังความเห็นของเพื่อน และพัฒนางานไปด้วยกัน ทำให้งานเราเดินมาถึงจุดนี้ได้ ขอบคุณพาร์ทเนอร์ของเราด้วย ,,> <,,


งานชิ้นนี้ออกมาดีค่ะ เป็นที่พอใจของเรา แล้วก็อาจารย์ด้วยล่ะ ดีใจจัง :))


Final Project part 1 : รูปทรงและที่ว่างแห่งอิริยาบถ

ในที่สุดดดดดดดดด~ การเรียนเทอมนี้ก็เดินทางมาถึงงานไฟนอลโปรเจค :)) โดยไฟนอลโปรเจควิชา Studio in Design ของเรา แบ่งเป็น 2 พาร์ทค่ะ เป็นงานคู่ เราทำงานคู่กับ นส.ศุภจิต วรกิจพิพัฒน์ (ปุ้มปุ้ย) เพื่อนสายของเราเอง :3


โดยโปรเจคนี้ ให้เราเลือกศึกษาและทดลองคุณสมบัติของวัสดุ (ศักยภาพและข้อจำกัด) เพื่อจะใช้เป็นวัสดุหลักในการสร้างรูปทรงและที่ว่างสามมิติที่สามารถคงรูปอยู่ได้


อา.. เราก็เริ่มทำการทดลอง เยอะแยะมากมาย วัสดุที่เลือกใช้ เริ่มต้นจากของที่เบสิคมากๆคือกระดาษ ลองเอามาม้วนขึ้นรูป




ก็พบว่ารูปทรงมันออกมาสวยดี โค้งๆ รู้สึกถึงความอ่อนโยน นุ่มนวล แต่จะมีปัญหาตรงที่สามารถขึ้นรูปได้ในแนวระนาบเท่านั้น แล้วถ้าขึ้นรูปไปสูงๆ ก็ไม่น่าจะคงรูปอยู่ได้ เราก็เลยเปลี่ยนวัสดุศึกษา


หลายๆอย่าง ทั้งหลอด ลวด สายยาง เชือกฟาง เชือกป่าน แล้วก็พบว่ามันไม่เวิร์คล่ะ..


ด้วยความสิ้นหวัง ไม่รู้จะขยับไปทางไหนดี เราก็มองเห็นสันกระดูกงู ที่มันเย็บเล่มรายงานตอน ม.ปลายวางอยู่ เลยแกะมันมาเล่น




แล้วก็คิดว่า เออ..มันเป็นวัสดุที่น่าสนใจดีนะ น่าจะเอามาทำอะไรได้ เลยนำมาต่อกัน แรกๆก็ใช้วิธีที่ง่ายที่สุดคือการเอามาติดกาวเข้าด้วยกัน


แต่มันก็ไม่ได้ขึ้นรูปด้วยตัวเองนี่นะ? เพราะจากใบโปร ที่ให้นำมาทำต่อคือ เลือกวัสดุมา 1 ชนิด จัดทำเป็นผลงานสามมิติ ในมาตราส่วน 1:1 ปริมาตรไม่น้อยกว่า 1 ลูกบาศก์ฟุต โดยสามารถใช้วัสดุอื่นในการประสานรอยต่อ และเป็นองค์ประกอบย่อยของรูปทรงได้ แต่วัสดุหลักต้องไม่น้อยกว่า 70%


เราเลยลองเอามันมาบากต่อกัน แบบนี้




พอทำแบบนี้แล้วมันขึ้นรูปด้วยตัวเองได้ล่ะ! แล้วก็ดูแข็งแรงด้วย เราเลยใช้วิธีการบาก ในการขึ้นรูปงานนี้ของเรา





ปุ้มปุ้ย :3



และนี่คืองานที่แล้วเสร็จจจจจ!




ปฏิบัติการที่ 5.3 : Symbolic Meaning / Three-Dimensional Space / Environment

งานชิ้นนี้ ให้ออกแบบที่ว่างสามมิติ (Three-Dimensional Space) จากการนำหุ่นจำลองในใบงานที่ 5.1 และ/หรือ 5.2 มาพัฒนา ปรับเปลี่ยน หรือลดทอนรายละเอียดของรูปทรง ให้มีลักษณะรูปทรงที่ให้ความรู้สึกถึง ความไหลลื่นมีชีวิตชีวา (Flow of Space) การเคลื่อนไหวไม่หยุดนิ่ง (Mobility) หรือมีพลวัต (Dynamic) พร้อมกำหนดสถานที่หรือสภาพแวดล้อม ภายในบริเวณอาคารและภูมิทัศน์โดยรอบคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ที่นิสิตคาดว่าจะนำรูปทรงดังกล่าวไปติดตั้งได้อย่างเหมาะสม โดยพิจารณาจากประเด็นสำคัญ ดังนี้

1. การศึกษารูปทรงต้นแบบ และการลดทอนรายละเอียดให้มีความเรียบง่าย
2. ขนาดและสัดส่วนที่เหมาะสมของรูปทรงและที่ว่าง
3. ความมั่นคงแข็งแรง และเสถียรภาพของรูปทรงและที่ว่าง
4. เทคนิคการจัดองค์ประกอบของรูปทรงและที่ว่าง
5. การสื่อความหมายเชิงสัญลักษณ์ของรูปทรงและที่ว่าง

งานที่ต้องส่งมีสองชิ้นคือ

1. Sketch Design ลงกระดาษขนาด A3 ด้วยลายเส้นขาว-ดำ
2. หุ่นจำลอง (Model) ปริมาตรวมไม่เกิน 0.30*0.30*0.30 เมตร ประกอบการนำเสนอผลงานด้วยกระดาษสีขาวเท่านั้น


จากปฏิบัติการที่ 5.1, 5.2 สิ่งมีชีวิตที่เราเลือกมาศึกษาคือ หมึก (Octopus) ก็นำเอาหุ่นจำลองที่เคยทำไว้มาลดทอนรายละเอียด เพื่อขึ้นรูปเป็นที่ว่างสามมิติ..





นี่คือหุ่นจำลองของที่ว่างสามมิติของเราค่่ะ :) ทำออกแนวเปเปอร์มาเช่ คือขึ้นโครงด้วยลวด ทากาวทับด้วยกระดาษหนังสือพิมพ์ แล้วทับอีกชั้นด้วยชานอ้อยลอกบาง แล้วชั้นสุดท้ายเพื่อเก็บความเรียบร้อย เราใช้กระดาษสาสีขาว


ส่วนสถานที่ติดตั้ง จะเป็นบริเวณโถงไข่ แล้วขนาดของที่ว่างสามมิติจริงๆ ความสูงจะกินพื้นที่ไปถึงด้านบนของโถงไข่ (ชั้น 3) คือเปรียบโถงไข่เหมือนแทงก์น้ำขนาดใหญ่ แล้วหมึกก็เป็นสัตว์น้ำ อีกทั้งคนที่อยู่ระเบียงด้านบนของโถงไข่ก็สามารถมองเห็นที่ว่างสามมิตินี้ได้ เป็นการเชื่อมสเปซไปในตัว





ส่วนนี่เป็นเพลตค่ะ :)





เป็นงานชิ้นสุดท้ายที่เราทำเกี่ยวกับหมึก เป็นงานต่อเนื่องที่ยาวนานมากกกกกกก เล่นเอาเอียนหมึกไปนานเลยล่ะ 555555+ แต่จากการทำงานครั้งนี้ก็ทำให้เราได้เรียนรู้อะไรหลายๆอย่างนะ :) ก็เป็นงานที่สนุก แล้วก็ท้าทายดีค่ะ

9.10.54

ปฏิบัติการที่ 5.2 : Meaning / Open Form / Lighting

ต่อจากงานชิ้นที่แล้ว คราวนี้ให้นำงานในปฏิบัติการที่ 5.1 มาลดทอนรายละเอียด ปรับเปลี่ยนรูปร่าง รูปทรง นำมาติดหลอดไฟ เพื่อพัฒนาไปเป็นโคมไฟ :)


โคมไฟหมึกกกก~~





โดยต่อยอดมาจากไอเดียเดิม คือการหุบ - ขยายของหนวดเมื่อหมึกเคลื่อนที่ไปข้างหน้า มันสามารถทำแบบนี้ได้!




หลายคนอาจจะสงสัยว่า แล้วยังไงล่ะ? แค่หุบขึ้นมาได้เนี่ยนะ?


ไม่ใช่แล้วล่ะ! การหุบขึ้นมาของมันมีฟังก์ชั่นนะ! มันเป็นการหรี่ไฟไปในตัวด้วยตะหากล่ะ! ลองดูรูปประกอบ..





ตอนที่หุบหนวดขึ้นมา แสงไฟจะสว่างจ้า แต่ถ้าเกิดเราเลื่อนมันลง แบบนี้..




จะเป็นการหรี่แสงไปในตัวล่ะ :)


เป็นฟังก์ชั่นอย่างนึงของงานเรานะ X)~

ปฏิบัติการที่ 5.1 : Natural Form / Meaning & Technique

มาถึงปฏิบัติการที่ 5 ซึ่งแบ่งเป็นสามงานย่อย :)


งานชิ้นนี้ ให้ศึกษาและทำความเข้าใจสิ่งมีชีวิตหรือรูปทรงในธรรมชาติ 1 ชนิด แล้วนำมาลดทอนรูปแบบและรายละเอียด ให้ดูเรียบง่าย ไม่ซับซ้อนเกินไป พร้อมทั้งอธิบายขั้นตอนการวิเคราะห์รูปร่าง รูปทรง หรือเส้นสายของสิ่งมีชีวิตดังกล่าว ในลักษณะรูปทรงเรขาคณิต ที่สามารถอ้างอิงถึงคุณสมบัติ ลักษณะเฉพาะตัว หรือเอกลักษณ์ที่โดดเด่นของสิ่งมีชีวิตนั้นๆ


สิ่งมีชีวิตที่เราเลือกคือ หมึก (Octopus) ค่ะ :D


และเมื่อศึกษาและนำมาลดทอนรายละเอียดแล้ว...






อันนี้ได้ไอเดียมาจากการเคลื่อนที่ของหมึกค่ะ โดยหมึกจะเคลื่อนที่โดยการพุ่งไปข้างหน้าแบบเอียงๆ เราจึงนำมาลดทอนเป็นรูปทรงเรขาคณิตง่ายๆ :) (แต่หลายคนบอกว่าไม่ค่อยเหมือนหมึกเท่าไหร่ 55555+)



มาถึงแบบที่สองงง~







มันคือรูปทรงของหมึกใช่มั้ย!! ..ใช่!! แต่เดี๋ยวก่อน! มันไม่ได้มีแค่นี้นะ!!


มันสามารถทำแบบนี้ได้ด้วยยยยยยย~~



ผ่างงงงงงงงงง..!!


หิ.. >:3 ทายกันออกมั้ยว่ามันมาจากอะไร?


มันคือการหุบ - ขยายของหนวดหมึกเพื่อเคลื่อนที่ไปข้างหน้า :D


ส่วนนี่เป็นเพลตค่ะ :)





นี่เป็นงานส่วนแรก ที่จะนำไปพัฒนาเป็นงานชิ้นต่อไปปปป :)

งานทัศนศึกษา

งานชิ้นนี้ ให้ไปศึกษางานนอกสถานที่ > < โดยมีรายชื่อสถานที่ให้เลือกไปดังนี้ค่ะ


- หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร (BACC)
- ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (TCDC)
- พิพิธภัณฑ์วีอาร์ คิง เพาเวอร์ คอมเพล็กซ์ (VR Museum)


เรากับเพื่อนในกลุ่มเลือกไป BACC :)


งานที่ต้องทำคือ ให้เลือกวิเคราะห์ชิ้นงานศิลปะ หรืองานออกแบบนิเทศศิลป์ หรือผลงานออกแบบผลิตภัณฑ์ หรือผลงานออกแบบสถาปัตยกรรมภายใน หรืองานสถาปัตยกรรม คนละ 1 ชิ้น จากสถานที่ที่ไปทัศนศึกษา


เนื่องจากช่วงเวลาที่เราไป BACC ได้มีการจัดนิทรรศการเกี่ยวกับ "ครู" ที่ด้านล่าง เราเลยลงไปเดินดูงานกัน แล้วเราก็ประทับใจผลงานชิ้นนี้


ชื่อภาพ : ครูใหญ่
ศิลปิน : นายชุมพล ราชฤทธิ์
เทคนิค : สีอะคริลิก
ขนาดภาพ : 120*80 เซนติเมตร


ชอบแหะ.. รู้สึกว่าเป็นงานที่ดูลึกลับดีน่ะ ,,- -,,




ตกแต่งแบบเรียบๆ โดยใช้แค่สีดำ ให้เข้ากับบรรยากาศในรูป


รูปนี้สื่อถึงความเคารพที่ลูกศิษย์มีต่ออาจารย์ค่ะ ถึงแม้จะเป็นอาจารย์ที่มีแต่ร่าง ไม่มีชีวิตแล้ว และยังแสดงถึงความเสียสละของคนที่บริจาคร่างของตัวเองเป็นวิทยาทานให้นักศึกษาแพทย์ด้วย


การไปทัศนศึกษาครั้งนี้ก็ทำให้เราได้เปิดโลกทัศน์ของตัวเอง ได้ไปศึกษาดูงานข้างนอก ทำให้ได้เห็นงานของหลายๆคน หลายๆด้าน ทำให้โลกทัศน์ของเรากว้างขึ้นค่ะ :)

ปฏิบัติการที่ 3.2 : Color & Modern Art

งานชิ้นนี้เป็นอีกงานที่ใช้สีเป็นหลักค่ะ ค่อนข้างหวั่นใจกับฝีมือของตัวเองพอสมควร 555555+


คำสั่งคือ ให้ออกแบบงานทัศนศิลป์ 2 มิติ 2 ภาพ โดยใช้ทฤษฎีสีที่ได้เรียนมา ประกอบการนำเสนองานจากยุคสมัยของศิลปะสมัยใหม่ (Modern Art) โดยใช้เทคนิค IMPRESSIONISM และ CUBISM มาอย่างละ 1 ภาพ โดยนำภาพต้นแบบมาจากผลงานสถาปนิกชื่อดัง (จากปฏิบัติการที่ 2)


อา.. หลายคนอาจจำไม่ได้ (?) 555555+ เรากลับมาตามงานของ Le Corbusier กันอีกครั้ง


//ย้อนอดีตให้..


Notre-Dame-Du-Haut (1955) at Ronchamp, France by Le Corbusier

รูปนี้ไง~


แล้วเราก็เอามาดัดแปลงให้เป็นงานศิลปะสมัยใหม่ ได้แก่..


IMPRESSIONISM




ก็ไม่ค่อนแน่ใจว่างานอิมเพรสชั่นนิสที่จริงแล้วมันหน้าตาเป็นยังไงกันแน่ เลยเปิดดูงานแนวๆนี้เพื่อศึกษาไปเรื่อยๆ แล้วก็พบว่าส่วนใหญ่เป็นงานที่ใช้สีสดใส และลงสีโดยใช้การสะบัดพู่กัน ทำให้ภาพดูฟุ้งๆ เราก็เลยตัดสินใจ ทำงานให้มันดูฟุ้งๆตาม 555555+


ก็ออกมาเป็นที่น่าพอใจนะ สำหรับเรา มันออกมาดูดีกว่าที่เราคิดไว้ค่ะ :)


CUBISM





งานแนวคิวบิซึ่ม.. รู้นะว่ามันต้องออกมาแนวเหลี่ยมๆ แต่ก็ไม่แม่นในวิธีการเท่าไหร่ เลยวาดรูปลงไปแล้วแบ่งให้มันเป็นช่องสี่เหลี่ยม แล้วก็ลงสี..


ตัวสถาปัตยกรรมใช้สีเทา - ดำโดยไล่น้ำหนัก 4 ระดับ ส่วนพื้นหลังเป็นสีโทนชมพูไล่ 3 ระดับ ดูสดใสมาก 55555+


งานทั้งสองชิ้นที่ส่งไปนี้ถือว่าออกมาน่าพึงพอใจ แล้วก็ประสบความสำเร็จมากกว่าที่เราคิดค่ะ ดีใจ ,,> <,,


แล้วก็.. ทั้งสองชิ้นใช้สีโปสเตอร์ในการลงค่ะ เป็นสีที่ใช้ค่อนข้างง่ายนะ สีสด แล้วก็สามารถลงทับได้เรื่อยๆถ้ามันไม่ได้ดั่งใจ


ปฏิบัติการที่ 3.1 : The Meaning of Nature's Colors

ปฏิบัติการที่ 3.1 งานนี้ให้ออกแบบงานทัศนศิลป์ 2 มิติ โดยเลือกใช้สีตามทฤษฎีโครงสี (Color Scheme) คู่กับเทคนิคน้ำหนักความสว่างของสี (Color Value) หรือเทคนิคการลดความสดของสี (Intensity) อย่างใดอย่างหนึ่ง มีลำดับสี 5 ลำดับเป็นอย่างน้อย




เราเลือกใช้ทฤษฎีโครงสีแบบ Monochromatic โดยใช้สีน้ำเงิน คู่กับเทคนิคการไล่น้ำหนักความสว่างของสี ออกมาเป็นภาพ "ท้องฟ้ายามค่ำคืน" :D


ระดับความพึงพอใจของงานชิ้นนี้ อยู่ในระดับปกติค่ะ เพราะเราเป็นคนที่ไม่ถูกกับการลงสีเท่าไหร่ - -" คิดว่าตัวเองทำได้ไม่ดีเท่าที่อยากจะได้อ่ะนะ แต่ก็จะพยายามต่อไปค่ะ :)