10.10.54

ปฏิบัติการที่ 5.3 : Symbolic Meaning / Three-Dimensional Space / Environment

งานชิ้นนี้ ให้ออกแบบที่ว่างสามมิติ (Three-Dimensional Space) จากการนำหุ่นจำลองในใบงานที่ 5.1 และ/หรือ 5.2 มาพัฒนา ปรับเปลี่ยน หรือลดทอนรายละเอียดของรูปทรง ให้มีลักษณะรูปทรงที่ให้ความรู้สึกถึง ความไหลลื่นมีชีวิตชีวา (Flow of Space) การเคลื่อนไหวไม่หยุดนิ่ง (Mobility) หรือมีพลวัต (Dynamic) พร้อมกำหนดสถานที่หรือสภาพแวดล้อม ภายในบริเวณอาคารและภูมิทัศน์โดยรอบคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ที่นิสิตคาดว่าจะนำรูปทรงดังกล่าวไปติดตั้งได้อย่างเหมาะสม โดยพิจารณาจากประเด็นสำคัญ ดังนี้

1. การศึกษารูปทรงต้นแบบ และการลดทอนรายละเอียดให้มีความเรียบง่าย
2. ขนาดและสัดส่วนที่เหมาะสมของรูปทรงและที่ว่าง
3. ความมั่นคงแข็งแรง และเสถียรภาพของรูปทรงและที่ว่าง
4. เทคนิคการจัดองค์ประกอบของรูปทรงและที่ว่าง
5. การสื่อความหมายเชิงสัญลักษณ์ของรูปทรงและที่ว่าง

งานที่ต้องส่งมีสองชิ้นคือ

1. Sketch Design ลงกระดาษขนาด A3 ด้วยลายเส้นขาว-ดำ
2. หุ่นจำลอง (Model) ปริมาตรวมไม่เกิน 0.30*0.30*0.30 เมตร ประกอบการนำเสนอผลงานด้วยกระดาษสีขาวเท่านั้น


จากปฏิบัติการที่ 5.1, 5.2 สิ่งมีชีวิตที่เราเลือกมาศึกษาคือ หมึก (Octopus) ก็นำเอาหุ่นจำลองที่เคยทำไว้มาลดทอนรายละเอียด เพื่อขึ้นรูปเป็นที่ว่างสามมิติ..





นี่คือหุ่นจำลองของที่ว่างสามมิติของเราค่่ะ :) ทำออกแนวเปเปอร์มาเช่ คือขึ้นโครงด้วยลวด ทากาวทับด้วยกระดาษหนังสือพิมพ์ แล้วทับอีกชั้นด้วยชานอ้อยลอกบาง แล้วชั้นสุดท้ายเพื่อเก็บความเรียบร้อย เราใช้กระดาษสาสีขาว


ส่วนสถานที่ติดตั้ง จะเป็นบริเวณโถงไข่ แล้วขนาดของที่ว่างสามมิติจริงๆ ความสูงจะกินพื้นที่ไปถึงด้านบนของโถงไข่ (ชั้น 3) คือเปรียบโถงไข่เหมือนแทงก์น้ำขนาดใหญ่ แล้วหมึกก็เป็นสัตว์น้ำ อีกทั้งคนที่อยู่ระเบียงด้านบนของโถงไข่ก็สามารถมองเห็นที่ว่างสามมิตินี้ได้ เป็นการเชื่อมสเปซไปในตัว





ส่วนนี่เป็นเพลตค่ะ :)





เป็นงานชิ้นสุดท้ายที่เราทำเกี่ยวกับหมึก เป็นงานต่อเนื่องที่ยาวนานมากกกกกกก เล่นเอาเอียนหมึกไปนานเลยล่ะ 555555+ แต่จากการทำงานครั้งนี้ก็ทำให้เราได้เรียนรู้อะไรหลายๆอย่างนะ :) ก็เป็นงานที่สนุก แล้วก็ท้าทายดีค่ะ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น