10.10.54

Final Project part 2 (end) : รูปทรงและที่ว่างแห่งอิริยาบถ

วิบากกรรมของสันกระดูกงูเรายังไม่หมดเพียงเท่านั้น ต่อจากพาร์ทแรก ก็มีพาร์ทสอง โดยใช้วัสดุเดิม แต่คราวนี้..


ให้นำผลงานจากปฏิบัติการ 6.1 มาพัฒนาสร้างเป็นรูปทรงและที่ว่าง 3 มิติเพื่อรองรับอิริยาบถของมนุษย์จำนวน 1 คน ซึ่งสามารถใช้สอยที่ว่างภายในของรูปทรงนั้นด้วยกิริยาท่าทางอย่างน้อย 1 อิริยาบถ โดยย่อขนาดของมนุษย์ลงในอัตราส่วน 1:5 พร้อมจัดทำ Plate นำเสนอผลงาน


อ่า.. เอาจริงๆงานที่แล้วเรากะปุ้ยเหงื่อตกกับการบากห่วงมาก มันเป็นงานที่ค่อนข้างถึกและดูดพลังมหาศาล และไม่ยืดหยุ่นเท่าที่ควรด้วย เราเลยมาหาวิธีใหม่ๆในการขึ้นรูปด้วยวัสดุของเรา


แล้วก็พบวิธีนี้ การเกี่ยว :D


สวยเนอะ เหมือนดอกไม้เลย ,,> <,,


พอนำมาต่อให้มันเป็นแผ่นที่แผ่ขยายขึ้น...





แล้วก็มาโค้งขึ้นรูป..





เป็นคล้ายๆอุโมงค์ :D แต่อันนี้หลังจากตรวจแบบแล้ว อ. คอมเม้นมาว่าใช้สีได้ลายตาเกินไป น่าจะจัดให้มันดูเป็นระเบียบกว่านี้ แล้วก็ยังไม่ได้เรื่องรองรับอิริยาบถของมนุษย์เท่าไหร่ เราก็เอามาพัฒนางานใหม่..





กลายเป็นอันนี้ ก็ยังโดนคอมเม้นว่ามันดูแบ่งแยกกันชัดเจนเกินไป - -" แล้วก็เรื่องอิริยาบถของมนุษย์เหมือนเดิม..




อันนี้ค่อนข้างโอเคค่ะ แต่ต้องปรับให้รองรับอิริยาบถท่านั่งของมนุษย์ แล้วก็เอาไปขึ้นรูปในมาตราส่วน 1 :5 เพื่อให้หุ่นจำลองมนุษย์เข้าไปใช้สอยพื้นที่ภายในได้


ทำให้เกิดงานไฟนอลโปรเจคขั้นสุดท้ายของเรา :DD




ด้วยความที่เมื่อนำมาเกี่ยวกันเอง ทำให้มีความยื่นหยุ่นมากกว่าครั้งแรกที่ใช้การบาก แล้วยังสามารถคงรูปได้ด้วยตัวเอง ลักษณะการใช้งานของมนุษย์ สามารถเข้าไปนั่ง และเปลี่ยนอิริยาบถเป็นท่านอนได้




ส่งคู่กับเพลตขนาดครึ่งอิมพีเรียลสองแผ่นค่ะ :)







แล้วก็จบสำหรับงานไฟนอลโปรเจคเทอม 1 ของชั้นปีที่ 1 อย่างเรา :) การทำงานชิ้นนี้ทำให้ได้เรียนรู้อะไรเยอะมากกกกกกก ทั้งการศึกษา ทดลอง ศักยภาพของวัสดุต่างๆ การแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นระหว่างทำงาน การทำงานร่วมกับคนอื่น รับฟังความเห็นของเพื่อน และพัฒนางานไปด้วยกัน ทำให้งานเราเดินมาถึงจุดนี้ได้ ขอบคุณพาร์ทเนอร์ของเราด้วย ,,> <,,


งานชิ้นนี้ออกมาดีค่ะ เป็นที่พอใจของเรา แล้วก็อาจารย์ด้วยล่ะ ดีใจจัง :))


Final Project part 1 : รูปทรงและที่ว่างแห่งอิริยาบถ

ในที่สุดดดดดดดดด~ การเรียนเทอมนี้ก็เดินทางมาถึงงานไฟนอลโปรเจค :)) โดยไฟนอลโปรเจควิชา Studio in Design ของเรา แบ่งเป็น 2 พาร์ทค่ะ เป็นงานคู่ เราทำงานคู่กับ นส.ศุภจิต วรกิจพิพัฒน์ (ปุ้มปุ้ย) เพื่อนสายของเราเอง :3


โดยโปรเจคนี้ ให้เราเลือกศึกษาและทดลองคุณสมบัติของวัสดุ (ศักยภาพและข้อจำกัด) เพื่อจะใช้เป็นวัสดุหลักในการสร้างรูปทรงและที่ว่างสามมิติที่สามารถคงรูปอยู่ได้


อา.. เราก็เริ่มทำการทดลอง เยอะแยะมากมาย วัสดุที่เลือกใช้ เริ่มต้นจากของที่เบสิคมากๆคือกระดาษ ลองเอามาม้วนขึ้นรูป




ก็พบว่ารูปทรงมันออกมาสวยดี โค้งๆ รู้สึกถึงความอ่อนโยน นุ่มนวล แต่จะมีปัญหาตรงที่สามารถขึ้นรูปได้ในแนวระนาบเท่านั้น แล้วถ้าขึ้นรูปไปสูงๆ ก็ไม่น่าจะคงรูปอยู่ได้ เราก็เลยเปลี่ยนวัสดุศึกษา


หลายๆอย่าง ทั้งหลอด ลวด สายยาง เชือกฟาง เชือกป่าน แล้วก็พบว่ามันไม่เวิร์คล่ะ..


ด้วยความสิ้นหวัง ไม่รู้จะขยับไปทางไหนดี เราก็มองเห็นสันกระดูกงู ที่มันเย็บเล่มรายงานตอน ม.ปลายวางอยู่ เลยแกะมันมาเล่น




แล้วก็คิดว่า เออ..มันเป็นวัสดุที่น่าสนใจดีนะ น่าจะเอามาทำอะไรได้ เลยนำมาต่อกัน แรกๆก็ใช้วิธีที่ง่ายที่สุดคือการเอามาติดกาวเข้าด้วยกัน


แต่มันก็ไม่ได้ขึ้นรูปด้วยตัวเองนี่นะ? เพราะจากใบโปร ที่ให้นำมาทำต่อคือ เลือกวัสดุมา 1 ชนิด จัดทำเป็นผลงานสามมิติ ในมาตราส่วน 1:1 ปริมาตรไม่น้อยกว่า 1 ลูกบาศก์ฟุต โดยสามารถใช้วัสดุอื่นในการประสานรอยต่อ และเป็นองค์ประกอบย่อยของรูปทรงได้ แต่วัสดุหลักต้องไม่น้อยกว่า 70%


เราเลยลองเอามันมาบากต่อกัน แบบนี้




พอทำแบบนี้แล้วมันขึ้นรูปด้วยตัวเองได้ล่ะ! แล้วก็ดูแข็งแรงด้วย เราเลยใช้วิธีการบาก ในการขึ้นรูปงานนี้ของเรา





ปุ้มปุ้ย :3



และนี่คืองานที่แล้วเสร็จจจจจ!




ปฏิบัติการที่ 5.3 : Symbolic Meaning / Three-Dimensional Space / Environment

งานชิ้นนี้ ให้ออกแบบที่ว่างสามมิติ (Three-Dimensional Space) จากการนำหุ่นจำลองในใบงานที่ 5.1 และ/หรือ 5.2 มาพัฒนา ปรับเปลี่ยน หรือลดทอนรายละเอียดของรูปทรง ให้มีลักษณะรูปทรงที่ให้ความรู้สึกถึง ความไหลลื่นมีชีวิตชีวา (Flow of Space) การเคลื่อนไหวไม่หยุดนิ่ง (Mobility) หรือมีพลวัต (Dynamic) พร้อมกำหนดสถานที่หรือสภาพแวดล้อม ภายในบริเวณอาคารและภูมิทัศน์โดยรอบคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ที่นิสิตคาดว่าจะนำรูปทรงดังกล่าวไปติดตั้งได้อย่างเหมาะสม โดยพิจารณาจากประเด็นสำคัญ ดังนี้

1. การศึกษารูปทรงต้นแบบ และการลดทอนรายละเอียดให้มีความเรียบง่าย
2. ขนาดและสัดส่วนที่เหมาะสมของรูปทรงและที่ว่าง
3. ความมั่นคงแข็งแรง และเสถียรภาพของรูปทรงและที่ว่าง
4. เทคนิคการจัดองค์ประกอบของรูปทรงและที่ว่าง
5. การสื่อความหมายเชิงสัญลักษณ์ของรูปทรงและที่ว่าง

งานที่ต้องส่งมีสองชิ้นคือ

1. Sketch Design ลงกระดาษขนาด A3 ด้วยลายเส้นขาว-ดำ
2. หุ่นจำลอง (Model) ปริมาตรวมไม่เกิน 0.30*0.30*0.30 เมตร ประกอบการนำเสนอผลงานด้วยกระดาษสีขาวเท่านั้น


จากปฏิบัติการที่ 5.1, 5.2 สิ่งมีชีวิตที่เราเลือกมาศึกษาคือ หมึก (Octopus) ก็นำเอาหุ่นจำลองที่เคยทำไว้มาลดทอนรายละเอียด เพื่อขึ้นรูปเป็นที่ว่างสามมิติ..





นี่คือหุ่นจำลองของที่ว่างสามมิติของเราค่่ะ :) ทำออกแนวเปเปอร์มาเช่ คือขึ้นโครงด้วยลวด ทากาวทับด้วยกระดาษหนังสือพิมพ์ แล้วทับอีกชั้นด้วยชานอ้อยลอกบาง แล้วชั้นสุดท้ายเพื่อเก็บความเรียบร้อย เราใช้กระดาษสาสีขาว


ส่วนสถานที่ติดตั้ง จะเป็นบริเวณโถงไข่ แล้วขนาดของที่ว่างสามมิติจริงๆ ความสูงจะกินพื้นที่ไปถึงด้านบนของโถงไข่ (ชั้น 3) คือเปรียบโถงไข่เหมือนแทงก์น้ำขนาดใหญ่ แล้วหมึกก็เป็นสัตว์น้ำ อีกทั้งคนที่อยู่ระเบียงด้านบนของโถงไข่ก็สามารถมองเห็นที่ว่างสามมิตินี้ได้ เป็นการเชื่อมสเปซไปในตัว





ส่วนนี่เป็นเพลตค่ะ :)





เป็นงานชิ้นสุดท้ายที่เราทำเกี่ยวกับหมึก เป็นงานต่อเนื่องที่ยาวนานมากกกกกกก เล่นเอาเอียนหมึกไปนานเลยล่ะ 555555+ แต่จากการทำงานครั้งนี้ก็ทำให้เราได้เรียนรู้อะไรหลายๆอย่างนะ :) ก็เป็นงานที่สนุก แล้วก็ท้าทายดีค่ะ

9.10.54

ปฏิบัติการที่ 5.2 : Meaning / Open Form / Lighting

ต่อจากงานชิ้นที่แล้ว คราวนี้ให้นำงานในปฏิบัติการที่ 5.1 มาลดทอนรายละเอียด ปรับเปลี่ยนรูปร่าง รูปทรง นำมาติดหลอดไฟ เพื่อพัฒนาไปเป็นโคมไฟ :)


โคมไฟหมึกกกก~~





โดยต่อยอดมาจากไอเดียเดิม คือการหุบ - ขยายของหนวดเมื่อหมึกเคลื่อนที่ไปข้างหน้า มันสามารถทำแบบนี้ได้!




หลายคนอาจจะสงสัยว่า แล้วยังไงล่ะ? แค่หุบขึ้นมาได้เนี่ยนะ?


ไม่ใช่แล้วล่ะ! การหุบขึ้นมาของมันมีฟังก์ชั่นนะ! มันเป็นการหรี่ไฟไปในตัวด้วยตะหากล่ะ! ลองดูรูปประกอบ..





ตอนที่หุบหนวดขึ้นมา แสงไฟจะสว่างจ้า แต่ถ้าเกิดเราเลื่อนมันลง แบบนี้..




จะเป็นการหรี่แสงไปในตัวล่ะ :)


เป็นฟังก์ชั่นอย่างนึงของงานเรานะ X)~

ปฏิบัติการที่ 5.1 : Natural Form / Meaning & Technique

มาถึงปฏิบัติการที่ 5 ซึ่งแบ่งเป็นสามงานย่อย :)


งานชิ้นนี้ ให้ศึกษาและทำความเข้าใจสิ่งมีชีวิตหรือรูปทรงในธรรมชาติ 1 ชนิด แล้วนำมาลดทอนรูปแบบและรายละเอียด ให้ดูเรียบง่าย ไม่ซับซ้อนเกินไป พร้อมทั้งอธิบายขั้นตอนการวิเคราะห์รูปร่าง รูปทรง หรือเส้นสายของสิ่งมีชีวิตดังกล่าว ในลักษณะรูปทรงเรขาคณิต ที่สามารถอ้างอิงถึงคุณสมบัติ ลักษณะเฉพาะตัว หรือเอกลักษณ์ที่โดดเด่นของสิ่งมีชีวิตนั้นๆ


สิ่งมีชีวิตที่เราเลือกคือ หมึก (Octopus) ค่ะ :D


และเมื่อศึกษาและนำมาลดทอนรายละเอียดแล้ว...






อันนี้ได้ไอเดียมาจากการเคลื่อนที่ของหมึกค่ะ โดยหมึกจะเคลื่อนที่โดยการพุ่งไปข้างหน้าแบบเอียงๆ เราจึงนำมาลดทอนเป็นรูปทรงเรขาคณิตง่ายๆ :) (แต่หลายคนบอกว่าไม่ค่อยเหมือนหมึกเท่าไหร่ 55555+)



มาถึงแบบที่สองงง~







มันคือรูปทรงของหมึกใช่มั้ย!! ..ใช่!! แต่เดี๋ยวก่อน! มันไม่ได้มีแค่นี้นะ!!


มันสามารถทำแบบนี้ได้ด้วยยยยยยย~~



ผ่างงงงงงงงงง..!!


หิ.. >:3 ทายกันออกมั้ยว่ามันมาจากอะไร?


มันคือการหุบ - ขยายของหนวดหมึกเพื่อเคลื่อนที่ไปข้างหน้า :D


ส่วนนี่เป็นเพลตค่ะ :)





นี่เป็นงานส่วนแรก ที่จะนำไปพัฒนาเป็นงานชิ้นต่อไปปปป :)

งานทัศนศึกษา

งานชิ้นนี้ ให้ไปศึกษางานนอกสถานที่ > < โดยมีรายชื่อสถานที่ให้เลือกไปดังนี้ค่ะ


- หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร (BACC)
- ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (TCDC)
- พิพิธภัณฑ์วีอาร์ คิง เพาเวอร์ คอมเพล็กซ์ (VR Museum)


เรากับเพื่อนในกลุ่มเลือกไป BACC :)


งานที่ต้องทำคือ ให้เลือกวิเคราะห์ชิ้นงานศิลปะ หรืองานออกแบบนิเทศศิลป์ หรือผลงานออกแบบผลิตภัณฑ์ หรือผลงานออกแบบสถาปัตยกรรมภายใน หรืองานสถาปัตยกรรม คนละ 1 ชิ้น จากสถานที่ที่ไปทัศนศึกษา


เนื่องจากช่วงเวลาที่เราไป BACC ได้มีการจัดนิทรรศการเกี่ยวกับ "ครู" ที่ด้านล่าง เราเลยลงไปเดินดูงานกัน แล้วเราก็ประทับใจผลงานชิ้นนี้


ชื่อภาพ : ครูใหญ่
ศิลปิน : นายชุมพล ราชฤทธิ์
เทคนิค : สีอะคริลิก
ขนาดภาพ : 120*80 เซนติเมตร


ชอบแหะ.. รู้สึกว่าเป็นงานที่ดูลึกลับดีน่ะ ,,- -,,




ตกแต่งแบบเรียบๆ โดยใช้แค่สีดำ ให้เข้ากับบรรยากาศในรูป


รูปนี้สื่อถึงความเคารพที่ลูกศิษย์มีต่ออาจารย์ค่ะ ถึงแม้จะเป็นอาจารย์ที่มีแต่ร่าง ไม่มีชีวิตแล้ว และยังแสดงถึงความเสียสละของคนที่บริจาคร่างของตัวเองเป็นวิทยาทานให้นักศึกษาแพทย์ด้วย


การไปทัศนศึกษาครั้งนี้ก็ทำให้เราได้เปิดโลกทัศน์ของตัวเอง ได้ไปศึกษาดูงานข้างนอก ทำให้ได้เห็นงานของหลายๆคน หลายๆด้าน ทำให้โลกทัศน์ของเรากว้างขึ้นค่ะ :)

ปฏิบัติการที่ 3.2 : Color & Modern Art

งานชิ้นนี้เป็นอีกงานที่ใช้สีเป็นหลักค่ะ ค่อนข้างหวั่นใจกับฝีมือของตัวเองพอสมควร 555555+


คำสั่งคือ ให้ออกแบบงานทัศนศิลป์ 2 มิติ 2 ภาพ โดยใช้ทฤษฎีสีที่ได้เรียนมา ประกอบการนำเสนองานจากยุคสมัยของศิลปะสมัยใหม่ (Modern Art) โดยใช้เทคนิค IMPRESSIONISM และ CUBISM มาอย่างละ 1 ภาพ โดยนำภาพต้นแบบมาจากผลงานสถาปนิกชื่อดัง (จากปฏิบัติการที่ 2)


อา.. หลายคนอาจจำไม่ได้ (?) 555555+ เรากลับมาตามงานของ Le Corbusier กันอีกครั้ง


//ย้อนอดีตให้..


Notre-Dame-Du-Haut (1955) at Ronchamp, France by Le Corbusier

รูปนี้ไง~


แล้วเราก็เอามาดัดแปลงให้เป็นงานศิลปะสมัยใหม่ ได้แก่..


IMPRESSIONISM




ก็ไม่ค่อนแน่ใจว่างานอิมเพรสชั่นนิสที่จริงแล้วมันหน้าตาเป็นยังไงกันแน่ เลยเปิดดูงานแนวๆนี้เพื่อศึกษาไปเรื่อยๆ แล้วก็พบว่าส่วนใหญ่เป็นงานที่ใช้สีสดใส และลงสีโดยใช้การสะบัดพู่กัน ทำให้ภาพดูฟุ้งๆ เราก็เลยตัดสินใจ ทำงานให้มันดูฟุ้งๆตาม 555555+


ก็ออกมาเป็นที่น่าพอใจนะ สำหรับเรา มันออกมาดูดีกว่าที่เราคิดไว้ค่ะ :)


CUBISM





งานแนวคิวบิซึ่ม.. รู้นะว่ามันต้องออกมาแนวเหลี่ยมๆ แต่ก็ไม่แม่นในวิธีการเท่าไหร่ เลยวาดรูปลงไปแล้วแบ่งให้มันเป็นช่องสี่เหลี่ยม แล้วก็ลงสี..


ตัวสถาปัตยกรรมใช้สีเทา - ดำโดยไล่น้ำหนัก 4 ระดับ ส่วนพื้นหลังเป็นสีโทนชมพูไล่ 3 ระดับ ดูสดใสมาก 55555+


งานทั้งสองชิ้นที่ส่งไปนี้ถือว่าออกมาน่าพึงพอใจ แล้วก็ประสบความสำเร็จมากกว่าที่เราคิดค่ะ ดีใจ ,,> <,,


แล้วก็.. ทั้งสองชิ้นใช้สีโปสเตอร์ในการลงค่ะ เป็นสีที่ใช้ค่อนข้างง่ายนะ สีสด แล้วก็สามารถลงทับได้เรื่อยๆถ้ามันไม่ได้ดั่งใจ


ปฏิบัติการที่ 3.1 : The Meaning of Nature's Colors

ปฏิบัติการที่ 3.1 งานนี้ให้ออกแบบงานทัศนศิลป์ 2 มิติ โดยเลือกใช้สีตามทฤษฎีโครงสี (Color Scheme) คู่กับเทคนิคน้ำหนักความสว่างของสี (Color Value) หรือเทคนิคการลดความสดของสี (Intensity) อย่างใดอย่างหนึ่ง มีลำดับสี 5 ลำดับเป็นอย่างน้อย




เราเลือกใช้ทฤษฎีโครงสีแบบ Monochromatic โดยใช้สีน้ำเงิน คู่กับเทคนิคการไล่น้ำหนักความสว่างของสี ออกมาเป็นภาพ "ท้องฟ้ายามค่ำคืน" :D


ระดับความพึงพอใจของงานชิ้นนี้ อยู่ในระดับปกติค่ะ เพราะเราเป็นคนที่ไม่ถูกกับการลงสีเท่าไหร่ - -" คิดว่าตัวเองทำได้ไม่ดีเท่าที่อยากจะได้อ่ะนะ แต่ก็จะพยายามต่อไปค่ะ :)

13.7.54

ปฏิบัติการที่ 3.3 : Great Architects Pop Up

งานชิ้นนี้เป็นงานกลุ่มที่ใหญ่พอสมควร โดยให้ใช้ความรู้เรื่องการจัดองค์ประกอบจุด เส้น ระนาบ มาออกแบบและสร้างเป็นผลงาน 3 มิติ ปริมาตรไม่เกิน 1.80x1.80x1.80 เมตร


กลุ่มของเรา (กลุ่ม 2) ได้งานของสถาปนิกต้นแบบคือ Louis I Kahn (แอบดีใจที่ตัวเองหลุดพ้นจากการถอดงานของ Le Corbusier ซักที TT)




นำแนวคิดมาผสมผสานกับการจัดองค์ประกอบที่ได้เรียนมา ผลงานก็ออกมา่เป็นหน้าตาแบบนี้~ :D




สีสันสดใสเหมาะกับการเป็นฉากถ่ายรูปป XD~ ผลงานชิ้นนี้นอกจากจะทำส่งอาจารย์แล้วยังทำเพื่อเป็นฉากให้พี่บัณฑิตใช้ถ่ายรูปอีกด้วย


เป็นงานจากน้องปีหนึ่งที่ทำให้พี่บัณฑิตค่ะ :)

ปฏิบัติการที่ 2.3 : Knowing Some Great Architects III

ปฏิบัติการที่ 2.3 ยังคงเป็นงานดอท ไลน์ เพลน และใช้สถาปนิกต้นแบบเดียวกับปฏิบัติการที่ 2.1 และ 2.2 โดยประกอบด้วยงานสองชิ้นคือ


งานชิ้นที่ 1 : ให้ออกแบบงาน 2 มิติ โดยเลือกรูปร่าง 1 ประเภทและเทคนิคการจัดองค์ประกอบ 1 เทคนิค


รับใบโปรนี้มาอ่านแล้วรู้สึกเอ๋อๆมึนๆตึงๆ คือไม่ค่อยเข้าใจรายละเอียดของโปรแกรมเท่าไหร่ หลังจากได้ถามไถ่จากเพื่อน และจากที่ได้นั่งเรียนตอนชั่วโมงเลคเชอร์เลยออกมาเป็นงานชิ้นนี้




เลือกประเภทรูปร่างไม่สม่ำเสมอ (irregular bound) และเทคนิคการจัดองค์ประกอบ ความคล้ายคลึง (similarity) เป็นงานที่ทำแบบงงๆ ไม่รู้ว่าตัวเองเข้าใจถูกรึเปล่า 555555+ แต่พอทำออกมาแล้วก็รู้สึกพอใจค่ะ :)


งานชิ้นที่ 2 : ให้ออกแบบงาน 2 มิติ โดยให้ใช้รูปร่างประเภทเดียวกับที่เลือกใช้ในงานที่ 1 และเลือกเทคนิค 1 เทคนิคที่ไม่ซ้ำกับผลงานชิ้นที่ 1




เป็นงานอีกชื้นที่เรียกได้ว่าซุยสุดๆ T_______T (ถ้ามองให้ดีจะพบว่ามันประกบกับรูปข้างบนได้แบบแนบสนิทเป๊ะๆ.. ใช่แล้วล่ะ มันคือแผ่นที่เหลือจากการเลาะไปทำงานชิ้นบนนั่นเอง orz) อยู่ในโหมดของการคิดไม่ออกอย่างแรง ไม่รู้ว่าจะทำอะไรดี


ประเภทของรูปร่างเป็นแบบไม่สม่ำเสมอ (irregular bound) และเทคนิคการจัดองค์ประกอบแบบ ความไม่ปรกติ (anomaly) ซึ่งทำออกมาแล้วมันผิดจากที่เขียนไว้ (เพราะแม้แต่ตัวเองยังไม่รู้ว่าที่ทำไปนั่นมันคืออะไร orz) เลยได้เกรด D+ มารับประทาน

ปฏิบัติการที่ 2.2 : Knowing Some Great Architects II

ปฏิบัติการที่ 2.2 ยังคงเป็นงานจุด เส้น ระนาบที่ใช้สถาปนิกต้นแบบเดียวกับปฏิบัติการที่ 2.1 ในโปรแกรมนี้ประกอบด้วยงาน 2 ชิ้นคือ


งานชื้นที่ 1 : ให้ออกแบบและสร้างงาน 2 มิติ ด้วยการจัดองค์ประกอบ 3 องค์ประกอบ ได้แก่ จุด เส้น ระนาบ




เริ่มชินกับรูปนี้ งานชิ้นนี้เลยใช้เวลาไม่ค่อยนานเท่าไหร่ ถ้าสังเกตจะเห็นว่าเราเน้นการจัดองค์ประกอบโดยใช้ระนาบเป็นหลัก แล้วใช้เส้นกับจุดมาเป็นส่วนเสริม เพราะมันประหยัดเวลากว่ากันเยอะ แล้วมันก็เป็นรูปแบบที่ถนัดมากกว่าน่ะ


งานชิ้นที่ 2 : ให้ออกแบบงาน 2 มิติ โดยเลือกการจัดองค์ประกอบเพียง 1 องค์ประกอบและเลือกเทคนิคการจัดองค์ประกอบ 1 เทคนิค




เลือกการจัดองค์ประกอบแบบเส้น (line) และเทคนิคการจัดองค์ประกอบคือ การแปรเปลี่ยน (gradation) 

ปฏิบัติการที่ 2.1 : Knowing Some Great Architects I

ปฏิบัติการที่ 2.1 ให้ออกแบบงานทัศนศิลป์ 2 มิติ โดยการจัดองค์ประกอบของจุด เส้น ระนาบ (หรือที่เรียกกันติดปากว่างาน ดอท ไลน์ เพลน) โดยศึกษาการจัดองค์ประกอบจากงานของสถาปนิกต้นแบบ


เราได้รูปนี้มาค่ะ


Notre-Dame-Du-Haut (1955) at Ronchamp, France by Le Corbusier


ภายในเวลาประมาณ 2 ชั่วโมง ต้องทำงานสามชิ้นส่ง มันเป็นอะไรที่ท้าทายมาก!


งานชิ้นแรกที่เราเลือกหยิบมาทำ เป็นงานที่คิดว่าใช้เวลาในการทำน้อยที่สุด คืองานระนาบ (plane)




มันคือการฉลุกระดาษดำมาแปะบนร้อยปอนด์ดีๆนั่นเอง! เป็นงานที่คิดเร็วทำเร็ว ตัดกระดาษ ขีดเส้นร่างๆแล้วกรีดคัตเตอร์เลย ถือว่าเป็นงานที่ไม่ค่อยถึกเท่าไหร่


งานชิ้นที่สองที่เราเลือกทำคืองานเส้น (line)




คิดไม่ยาก แต่กรีดเส้นค่อนข้างถึก TAT ถ้าซูมเข้าไปใกล้ๆจะเห็นได้ชัดถึงความซุยของงาน ไร้ซึ่งความสะอาดและเท่ากันของเส้น orz เป็นงานที่่ผลาญเวลาเข้าขั้นอยู่เหมือนกัน


และมาถึงงานสุดท้ายท้ายสุด จุดไคลแม็กซ์ของการทำงานรอบนี้! ด้วยเวลาที่กระชั้น (มากๆ) และเสียเวลาไปกับการกรีดเส้นงานไลน์ค่อนข้างเยอะ งานดอทของเราก็เลย..!!




ขอตั้งชื่อภาพนี้ว่า "เสากระโดงเรือ" เป็นงานที่ซุยที่สุดในสามโลก orzorzorzorz


ด้วยความกลัว I จะมาเยือนขึ้นสมอง เลยดลใจให้เราเอางานแบบนี้ไปส่งอาจารย์ แล้วมาคิดได้ทีหลังว่ามันไม่ควร ..แต่ก็สายไปแล้ว T_______T และผลที่ออกมาก็เป็นดั่งใจคิด เราไม่ได้ I แต่ได้ F ตัวโตๆมาแทน (น่าดีใจมั้ยนี่?)


แล้วได้มารู้หลังจากส่งงานไปแล้วว่ายังมีเพื่อนที่ประสบชะตากรรมเดียวกับเราอีกหลายคน ชั่วโมงเรียนต่อมา อาจารย์เลยให้เลือกงาน 1 ใน 3 ของโปรแกรมเดิม มาทำการรีเกรด และนี่คืองานรีเกรดดอทของเราค่ะ




ดูดีมีชาติตระกูลกว่าอันที่แล้วเยอะ เพราะเวลาในการทำเยอะมาก!


จากการทำโปรแกรมนี้ทำให้เรารู้ว่า งานดอทเป็นงานที่เราไม่ถูกชะตาด้วยจริงๆ เพราะรู้สึกว่ามันเป็นงานที่ต้องใจเย็น ใช้ความละเอียดค่อนข้างมาก และใช้เวลานาน การจัดองค์ประกอบแบบดอทคงจะเป็นวิธีหลังสุดที่เราจะเลือกใช้ในการทำงานเลยล่ะ